เงื่อนไขการรับประกันสินค้า และ บริการ
รายละเอียดสินค้า
Product Name
- Material Handling Equipment
- Hand pallet truck
- Power pallet truck
- High lift pallet truck
- Hand stacker
- Semi-electric stacker
- Power stacker
- Table lift
- Power table lift
- Scissor lift
- Aerial work platform
เงื่อนไขการรับประกันสินค้าเบื้องต้น
1.บริษัทฯ จะรับประกันคุณภาพและจะบริการซ่อมโดยไม่คิดมูลค่าภายในระยะเวลา 1 ปี
แก่ผลิตภัณฑ์ที่ท่านซื้อในกรณีที่ชิ้นส่วนหรืออะไหล่เกิดจากความบกพร่องของผู้ผลิต
2.บริษัทฯ จะไม่รับผิดชอบต่อการเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ จากการใช้อย่างผิดวิธี ซ่อมหรือเปลี่ยนแปลงโดยบุคคลภายนอกที่ไม่ได้รับการเห็นชอบจากบริษัทฯ หรือเสียหายเนื่องจากภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ฟ้าผ่า ไฟไหม้ และเสียหายเนื่องจากการขนส่ง ไฟฟ้าไม่ได้มาตรฐาน แม้การเสียหายดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นในเวลารับประกันก็ตาม
3.การรับประกันนี้ครอบคลุมเฉพาะการใช้งานที่ถูกต้อง ตามประเภทของสินค้านั้น ๆ
4.บริษัทฯ จะไม่รับประกันอุปกรณ์สึกหรอจากการใช้งาน ได้แก่ ลูกปืน สายยาง ลูกยาง ล้อ เป็นต้น
5.สินค้าประเภทระบบไฮดรอลิค (Hydraulic System) รับประกันเฉพาะชุดไฮดรอลิค เช่น กระบอกสูบ วาล์ว สาย เป็นต้น
ไม่รวมอุปกรณ์ที่สึกหรอได้
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ข้อแนะนำการใช้แบตเตอรี่
- ควรตรวจความถ่วงจำเพาะ( ถ.พ.) ของน้ำกรดในแต่ละช่องของแบตเตอรี่ให้ได้ตามที่กำหนดเสมอ
- ตรวจระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่ว่ามีพอหรือไม่ ถ้าไม่พอต้องเติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับตามที่กำหนด ( ห้ามเติมน้ำกรด )
- ถ้าไฟไม่พอสตาร์ท ไฟหน้ารถไม่สว่าง แตรไม่ค่อยดัง หรือวัดความถ่วงจำเพาะได้ต่ำกว่า 1.200 แสดงว่าไฟไม่พอ ให้นำไปประจุไฟจนเต็ม และน้ำกรดมี ถ.พ. 1.230 – 1.250 ที่ 27 องศาเซลเซียส
- รักษาแบตเตอรี่ให้สะอาดและแห้งอยู่ตลอดเวลา ถ้าขั้วสกปรก ให้ล้างด้วยน้ำร้อนให้สะอาด และทาด้วยวาสลิน
- แบตเตอรี่ที่ไม่ได้ใช้งาน ควรนำไปประจุไฟเดือนละ 1 ครั้ง และก่อนใช้ต้องประจุไฟให้เต็มอีกครั้ง
ข้อควรระวัง
- รูระบายอากาศบนฝาจุกต้องไม่อุดตัน เพื่อป้องกันการระเบิด
- ก๊าซที่ระเหยออกจากแบตเตอรี่ ต้องระวังไม่ให้เกิดประกายไฟ เปลวไฟ หรือสูบบุหรี่ในบริเวณที่ประจุไฟ
- ควรสวมผ้ากันกรด ถุงมือยาง และแว่นตาพิเศษ เพื่อป้องกันน้ำกรด
- หากน้ำกรดกระเด็นถูกผิวหนัง ให้รีบล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ ครั้ง กรณีเข้าตา ใช้น้ำสะอาดล้างหลาย ๆ ครั้ง แล้วรีบนำส่งแพทย์ทันที
- การต่อวงจรแบตเตอรี่ ควรใช้เครื่องมือหุ้มฉนวนก่อนปฏิบัติงาน และควรถอดเครื่องประดับที่เป็นโลหะ
- เมื่อมีการเชื่อมประสานส่วนที่เป็นตัวถังรถยนต์ ต้องถอดขั้วแบตเตอรี่ออกก่อนเสมอ
Save Green
Save World
Save Money
การเลือกใช้รถ FORKLIFT ในสถานประกอบการ
ในสถานประกอบการหรือโรงงานต่างที่ผลิตสินค้าทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องเคลื่อนย้ายสินค้าในโรงงานและจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ จึงต้องมีเครื่องมือขนย้ายที่มีประสิทธิภาพเพื่อสะดวกรวดเร็วและปลอดภัย รถ FORKLIFT จึงเป็นเครื่องจักรกลสี่งแรกที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง แต่บางหน่วยงานไม่ทราบว่าจะเลือกรถ FORKLIFT อย่างไรให้เหมาะกับสถานประกอบการหรือโรงงาน ดังนั้นทางผู้เขียนขอแนะนำการเลือกซื้อรถ FORKLIFT มาใช้ในโรงงานอย่างง่ายๆดังนี้
รถ FORKLIFT แบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามชนิดของเครื่องจักรกล
- ประเภทที่ใช้เครื่องยนต์เป็นเครื่องต้น กำลังมักนิยมใช้ในในโรงงานหรือคลังสินค้าที่เป็นระบบเปิด มีการระบายอากาศที่ดีหรือขนย้ายภายนอกอาคาร มีให้เลือกทั้งเป็นเครื่องยนต์ดีเซล เบนซินและใช้ LPG เป็นเชื้อเพลิงเพราะว่าสามารถรับงานหนักได้ดี มีความแข็งแรงสูง ประหยัดทั้งค่าเชื้อเพลิงและมีการบำรุงรักษาง่าย ทนทานต่อพื้นทางวิ่งที่ขรุขระได้ดี
- ประเภทที่ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นเครื่องต้นกำลัง และใช้กำลังไฟจากแบตเตอรี่ เหมาะสำหรับโรงงานหรืออาคารที่เป็นระบบปิด ห้องติดแอร์ห้องเย็นแช่แข็งต่างๆ เพราะรถ FORKLIFT ไฟฟ้าไม่มีมลพิษทางอากาศ ในโรงงานผลิตอาหารที่ต้องการความสะอาดเป็นอันดับแรก ใช้วิ่งในพื้นที่แคบๆได้ดี ไม่มีเสียงดังรบกวน แต่ก็มีข้อจำกัดเหมือนกันเช่น พื้นทางการวิ่งต้องราบเรียบไม่ขรุขระเพราะจะทำให้แบตเตอรี่ชำรุดเสียหายหรืออายุการใช้งานลดลง ซึ่งรถ FORKLIFT ไฟฟ้ามีให้เลือกหลายแบบ เช่น แบบนั่งขับ ยืนขับเหมาะกับการวิ่งในทางแคบๆ และแบบขับเคลื่อนขนย้ายในแนวระนาบเท่านั้น
มาตรฐานการเลือกใช้ให้ถูกต้องตามประเภทความอันตรายของแต่สถานประกอบการเช่น ในมาตรฐาน NFPA 505 แบ่งไว้ 3 ระดับดังนี้
1 ประเภทรถ FORKLIFT เครื่องยนต์ดีเชล
• Tye = DD มีระบบป้องกันเพลิงไหม้ในมาตรฐานขั้นต่ำสุด
= DS มีระบบป้องกันที่ท่อไอเสีย ระบบเชื้อเพลิงและระบบไฟฟ้า
= DYไม่มีระบบไฟฟ้าระบบจุดระเบิดและมีการติดตั้งชุดจำกัดอุณหภูมิ
2 ประเภทรถ FORKLIFT เครื่องเบนซินและ LPG
= GLPมีระบบป้องกันเพลิงใหม้ในมาตรฐานต่ำสุดตามความจำเป็น
= GLPSมีระบบป้องกันเพลิงใหม้โดยเพิ่ม ระบบป้องกันที่ระบบไอเสีย ระบบเชื้อเพลิง ระบบไฟฟ้า
3 ประเภทรถ FORKLIFT ไฟฟ้า
• Tye = E มีระป้องกันเพลิงไหม้และไฟฟ้าดูดในขั้นมาตรฐานต่ำสุด
= ES เพิ่มระบบป้องกันการเกิดประกายไฟจากระบบไฟฟ้าและจำกัดอุณหภูมิที่พื้นผิวเครื่อง
= EE มอเตอร์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อื่นๆจะมีการห่อหุ้มอย่างมิดชิด
= EX ออกแบบมาเพื่อใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีไอระเหยของสารไวไฟ
เมื่อทราบวิธีการเลือกแล้ว ถ้าจะซื้อหรือเช่ารถ FORKLIFT ก็จะได้ประสิทธิภาพที่ดี สะดวกในการใช้งานและก็ปลอดภัย ถ้ามีใช้อยู่แล้วก็สามารถตรวจสอบว่ารถ FORKLIFT ที่มีอยู่เหมาะกับสภาพการใช้งานของโรงงานมากน้อยเพียงใด
.................................................................................................................................................................................................................
|
AC/DC มอเตอร์
ข้อดีและข้อเสียระหว่างมอเตอร์กระแสตรง (DC motor )และกระแสสลับ (AC motor)
ข้อดีของ DC motor คือ
- การควบคุมแรงบิดหรือความเร็วทำได้ง่ายและดีมาก
- มีผลตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง (response) ได้รวดเร็ว
- การปรับความเร็วสามารถทำได้ในช่วงกว้าง
ข้อเสียของ DC motor คือ
- การบำรุงรักษาสูงมากเนื่องจากมีส่วนสึกหรอของแปรงถ่าน
- ราคาแพงมากเมื่อเทียบกับ AC motor ที่มีขนาดกำลังแรงม้าเท่ากัน
- มีขนาดใหญ่กว่า AC motor ที่ขนาดแรงม้าเท่ากัน
- หาแหล่งจ่ายที่เป็นไฟกระแสตรงได้ยาก
- ไม่สามารถนำไปใช้ในที่มีสารไวไฟ
ข้อดีของ AC motor
- ราคาถูกกว่า DC motor ที่ขนาดพิกัดกำลังเท่ากันเช่น ที่ 2 แรงม้า AC=4500 บาท ,DC = 20000 บาท
- มีลักษณะโครงสร้างง่าย ไม่ซับซ้อน และเล็กกว่า DC motor ที่พิกัดเท่ากัน
- การบำรุงรักษาน้อยมาก แข็งแรงทนทาน
- ใช้ในสถานที่ที่มีสารไวไฟ หรือสารเคมีได้
- มีประสิทธิภาพสูงกว่า DC motor
- หาซื้อได้ง่าย เป็นที่นิยม
ข้อเสียของ AC motor
- การควบคุมความเร็วทำได้ยากมาก จะต้องใช้อุปกรณ์ทาง power electronics มาควบคุมคือ inverter ซึ่งค่อนข้างจะมีราคาสูง
..........................................................................................................................................................................................................................
วิธีการบำรุงรักษาระบบ ไฮดรอลิค
เนื่องจากสิ่งสกปรกที่เป็นอนุภาคของแข็ง ไม่ว่าจะเป็นเศษโลหะ ชิ้นส่วน เศษผง ตลอดจนความชื้นและอากาศ ที่เล็ดลอดเข้าไปปะปนใน น้ำมันไฮดรอลิค สามารถก่อให้เกิดการสึกหรอและการสีกกร่อนของ ปั๊มไฮดรอลิค ซึ่งเป็นสาเหตุที่มักพบอยู่บ่อยๆ ดังนั้นจึงควรระมัดระวังอย่างสม่ำเสมอในเรื่อง
|
กรณีสินค้าชำรุด สามารถแจ้งซ่อมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0-2518-2913-4 ต่อ 16